เรื่อง:
1. เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI
ประเด็นยุทธศาสตร์:
1. การพัฒนาท้องถิ่นด้วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมท้องถิ่น
กลยุทธ์:
ขับเคลื่อนการนำงานวิจัยให้ตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
กิจกรรมดำเนินการจัดการความรู้
1. จัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น / สำคัญต่องาน / กิจกรรมขององค์กร
2. กิจกรรมเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการแสวงหาความรู้จากเอกสารและบุคคลที่มีความรู้ โดยกำหนดประเด็นความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI
3. การสร้างองค์ความรู้ : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในข้อ 2 โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. ยุภาดี ปณะราช รองคณบดีคณะครุศาสตร์ มาเป็นผู้ให้ความรู้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
4. การนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในข้อ 3 มาประยุกต์ใช้ในการเขียนบทความวิจัยของอาจารย์ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ไปยังอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา
5. การติดตามผลการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำประสบการณ์จากประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดความรู้ใหม่
6. สรุปและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
องค์ความรู้จาการจัดการความรู้ด้านการวิจัย
เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐาน TCI
การเตรียมตัวเขียนบทความ
1. อ่านนโยบายและวัตถุประสงค์ของวารสาร: เนื้อหางานวิจัยจะต้องสอดคล้องกับนโยบายการจัดทํา การจัดพิมพ์ของวารสารนั้น
2. อ่านคําแนะนําสําหรับผู้เขียนบทความของเจ้าของวารสาร
3. อ่านแนวทางการประเมินคุณภาพของบทความ มีคุณลักษณะของงานวิจัยที่ดีเช่น มีคุณค่า มีความใหม่ น่าสนใจ ถูกต้อง เป็นต้น
หลักการเขียนบทความวิจัยที่มีคุณภาพ
1. มีประเด็นหรือแนวคิดทางวิชาการที่ชัดเจน
2. มีความทันสมัย และวิเคราะห์เป็นไปตามแนวคิดและทฤษฎี
ที่เหมาะสมและชัดเจน เน้นองค์ความรู้ใหม่
3. มีทัศนะของผู้เขียนบนฐานของข้อเท็จจริงทางวิชาการ
4. ควรค้นคว้าอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้
5. ควรใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม
6. มีการนําเสนออย่างเข้าใจง่าย
แนวทางการหาแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย
1. แหล่งเผยแพร่บทความวิจัย ได้แก่ วารสารวิจัยที่อยู่บนฐาน TCI ซึ่งควรเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ
2. บทความวิจัยที่จะเผยแพร่ต้องเป็นบทความวิจัยที่ใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด ดังนั้นบทความวิจัยเรื่องเดียวกันจะทําได้เพียงครั้งเดียวไม่สามารถลงซ้ำได้
3. องค์ความรู้ของผู้วิจัย ผู้ที่จะพิมพ์เผยแพร่ต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องนั้น
4. เลือกวารสารเป้าหมาย หรือวารสารที่ต้องการตีพิมพ์ ควรสอดคล้องกับชื่อบทความ หรือศาสตร์ที่ทำวิจัย
5. หาบุคคลที่สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาได้ สามารถนําเข้าสู่ช่องทางของวารสารได้ถูกต้อง
6. สร้างเครือข่ายสําหรับนักวิจัยที่อยู่ในความสนใจเหมือนกัน