Knowledge-Management-1
การจัดการความรู้ (KM) ด้านการจัดการเรียนการสอน
ชื่อหน่วยงาน : คณะวิทยาการจัดการ

เรื่อง:

1. การจัดการเรียนรู้ที่ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
2. การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Curriculum Learning Outcome
ประเด็นยุทธศาสตร์:
การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสร้างสรรค์สังคม
กลยุทธ์:
พัฒนาศักยภาพอาจารย์
กิจกรรมดำเนินการจัดการความรู้
1.  จัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น / สำคัญต่องาน / กิจกรรมขององค์กร
2.  กิจกรรมเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยการแสวงหาความรู้จากเอกสารและบุคคลที่มีความรู้ โดยกำหนดประเด็นความรู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ
  • การจัดการเรียนรู้ที่ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
  • การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม Curriculum Learning Outcome/Outcome-based-assessment
3. การสร้างองค์ความรู้ : จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนดไว้ในข้อ 2 โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.วชิระ วิชชุวรนันท์ คณบดีคณะครุศาสตร์ มาเป็นผู้ให้ความรู้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
4.  การนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในข้อ 3 มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ไปยังอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา
5.  การติดตามผลการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำประสบการณ์จากประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดความรู้ใหม่
6.  สรุปและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน

 

องค์ความรู้จากการจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนรู้ที่ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกเป็นรูปธรรมและสามารถวัด ประเมินผลได้ หรือ คือ สิ่งที่ผู้เรียนต้องสามารถทำได้ (Active) สำเร็จ (Achievable) วัดและประเมินผล (Assessed) ได้ หลังกระบวนการเรียนรู้แต่ละบทเรียน รายวิชา หลักสูตร ฯลฯ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Curriculum Learning Outcome)
1. ต้องอธิบายผลลัพธ์ที่ผู้เรียนจะแสดงออกมาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (พฤติกรรมที่แสดงออกได้และวัดได้)
2. อาศัยคำกริยาที่สะท้อนพฤติกรรม คือ ระบุสิ่งที่ผู้เรียนควรสามารถ ทำได้เมื่อจบหลักสูตร บทเรียน รายวิชา หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ควรมีการคิดและตกลงร่วมกันระหว่างอาจารย์ในหลักสูตรเพื่อความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวของหลักสูตร
4. ต้องสามารถวัดในเชิงปริมาณและคุณภาพได้
5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรต้องสะท้อนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) กรอบคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย (บัณฑิตมีจิตอาสา สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น) และกรอบมาตรฐานวิชาชีพของสาขาหรือหลักสูตรนั้น

 

การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Curriculum Learning Outcome/Outcome-based-assessment
1. ผู้สอนกำหนดผลลัพธ์ที่ผู้เรียนจะแสดงออกมาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ (พฤติกรรมที่แสดงออกได้และวัดได้)
2. ผู้สอนต้องพัฒนาเครื่องมือวัดผลให้ได้ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (จุดดำที่กำหนดไว้ในหลักสูตร / รายวิชา)
3. ผู้สอนศึกษาหลักการวัดผลของบลูม (BLOOM’s Taxonomy of Learning Domains)