เกี่ยวกับเรา

คณะวิทยาการจัดการ เป็นหนึ่งในหน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มุ่งเน้นให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียน และประชาชนที่สนใจ โดยสร้างศักยภาพนักศึกษาให้เป็นขุมพลังแห่งปัญญา ผลิตกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการรับใช้ท้องถิ่นและประเทศชาติ เป็นที่พึ่งทางวิชาการของท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และบูรณาการความรู้ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน
IMG_6488

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2516 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กรมการฝึกหัดครูจัดตั้งวิทยาลัยครูกำแพงเพชร โดยสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2516 ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2519 เปิดรับนักศึกษาภาคปกติรุ่นแรก ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แต่เดิมคือ วิทยาลัยครูกำแพงเพชร เป็นสถานศึกษาที่ผลิตบุคลากรที่จะไปประกอบอาชีพครูเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้ในปีพุทธศักราช 2527 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2527 มีผลให้วิทยาลัยครูสามารถผลิตบัณฑิต สาขาวิชาชีพอื่น ที่ไม่ใช่วิชาชีพครูได้ ดังนั้น จึงมีการผลิตบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ
timeline_pre_loader

2528

            วิทยาลัยครูกำแพงเพชร มีการเตรียมการจัดตั้งคณะวิชาวิทยาการจัดการ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบผลิตบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2528 โดยมอบหมายให้อาจารย์สุวัฒน์ น้าคณาคุปต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในขณะนั้น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะวิชาเพื่อดำเนินการในการจัดตั้งคณะ มีอาจารย์นิยม ชื่นนิรันดร์ และอาจารย์ประจวบ ทิพย์ปรีชา มาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย คณะผู้เริ่มก่อตั้ง จึงได้ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตร โดยจัดหาเอกสารตำรา ตลอดจนอาคารสถานที่ และวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดสอน จนในที่สุดได้มีประกาศการจัดตั้งคณะวิชาวิทยาการจัดการในวิทยาลัยครูกำแพงเพชรขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสัมพันธ์ ทองสมัคร) ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530

2530

           คณะวิทยาการจัดการได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2530 โดยเริ่มแรกได้เปิดสอนในระดับอนุปริญญา (2 ปีแรก) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป แขนงวิชาบัญชี แขนงการจัดการทั่วไป แขนงการตลาดและแขนงเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ระดับปริญญาตรี (2 ปีหลัง) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป แขนงวิชาการบัญชี  แขนงการจัดการทั่วไป แขนงการตลาด และแขนงเศรษฐศาสตร์สหกรณ์

2534

           ปีพุทธศักราช 2534  คณะวิทยาการจัดการ ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างอาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษา โดยใช้ชื่อว่า “อาคารน้ำเพชร” ซึ่งเป็นลักษณะอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักจำนวน 20 ห้อง ประกอบด้วย ห้องจัดประชุมสัมมนา ห้องปฏิบัติการฝึกวิชาชีพ และห้องอาหาร ซึ่งนอกจากจะใช้สำหรับเป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาในคณะแล้ว ยังได้เปิดให้บริการทั้งแบบห้องพัก และห้องประชุม เพื่อจัดอบรมสัมมนาแก่บุคคลทั่วไปภายใต้การกำกับดูแลของสำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ โดยมีโปรแกรมวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมเป็นผู้ร่วมดำเนินงาน

2538

           ปีพุทธศักราช 2538 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏขึ้น ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2538 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ อาทิ เปลี่ยนชื่อ “วิทยาลัยครู” เป็น “สถาบันราชภัฏ” และเปลี่ยนชื่อ “คณะวิชา”เป็น “คณะ” โดยตัดคำว่า วิชา ออก และเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารของคณะ จากเดิมใช้คำว่า“หัวหน้าคณะวิชา” เป็น “คณบดี” การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งคณะผู้บริหารของสถาบันใหม่ทั้งหมด

2539

           ปีพุทธศักราช 2539 คณะวิทยาการจัดการ ได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน ซึ่งได้จากการแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2540 โดยก่อสร้างอาคารเรียน 8 ชั้น เป็นจำนวนเงิน 42,940,000 บาท โดยทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 ทั้งนี้ อาคารเรียนของคณะวิทยาการจัดการ ได้ทำการเปิดใช้เป็นครั้งแรก ในวันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา โดยได้รับพระราชทาน นามว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 2” หรือที่เรียกกันว่า “อาคาร 11”

2547

           ในปีพุทธศักราช 2547 สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร” มีผลบังใช้คับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 มีความเป็นอิสระและเป็นนิติบุคคล เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

2558-2561

          ในปีพุทธศักราช 2558 คณะวิทยาการจัดการ มีการจัดตั้งชมรมศิษย์เก่า โดยมีการทำกิจกรรม และจัดทำข้อบังคับชมรมศิษย์เก่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร พ.ศ. 2559 ขึ้น โดยมีประธานชมรมคือ นายสุวัฒน์ ตรีบุพชาติสกุล และได้มีกิจกรรมของชมรมศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรม ได้เริ่มการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) เพียงบางส่วน ในปีการศึกษา 2560 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโรงแรมได้จัดการศึกษาแบบ WIL อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ WIL และในปีเดียวกันหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการคลัง ได้ปรับปรุงหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น “สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ” ปีงบประมาณ 2560 คณะได้ลงนามความร่วมมือ กับ อบต.ท่าขุนราม ในการพัฒนาตลาดท่องเที่ยวสามวิถี ที่ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และในปีพุทธศักราช 2561 ได้มีการ ลงนามความร่วมมือกับบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นบริษัทให้บริการขนส่งพัสดุทั่วประเทศแบบครบวงจรในการเป็นศูนย์ฝึกงานด้านโลจิสติกส์ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมาตั้งบริษัทที่อาคาร 14 ของมหาวิทยาลัย อีกทั้งได้มีการจัดทำ “วารสารการจัดการและการพัฒนาท้องถิ่น” ของคณะวิทยาการจัดการ

2562

           ปีพุทธศักราช 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้มีการปรับเปลี่ยนสังกัดกระทรวงใหม่จากเดิม “สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ” เปลี่ยนเป็น “สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ตามระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562

2563

           ปีพุทธศักราช 2563 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ได้พิจารณาปรับปรุงการจัดทำหลักสูตรใหม่ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องการให้มีการควบรวมหลักสูตร มาเป็น “หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ” ซึ่งมีทั้งหมด 6 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกการเงิน วิชาเอกการตลาด วิชาเอกการจัดการธุรกิจ วิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการ วิชาเอกเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล และการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (แม่สอด) โดยได้มีการเปิดรับนักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2564

2564

           ปีพุทธศักราช 2564 หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ปรับปรุงการจัดทำหลักสูตรใหม่ โดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้เปลี่ยนชื่อสาขาวิชาเป็น “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” และเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2565

ปัจจุบัน

ปรัชญา | ปณิธาน | วิสัยทัศน์ | พันธกิจ

IMG_3142

ปรัชญา

บูรณาการความรู้ สู่ชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม

ปณิธาน

สร้างสรรค์คนดี มีคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี มีความสามารถทางธุรกิจ คิดอย่างเป็นระบบเพื่อพบความก้าวหน้า พัฒนาท้องถิ่นและสังคม

วิสัยทัศน์

บูรณาการวิชาการวิชาชีพ บนฐานนวัตกรรม ด้านบริหารจัดการ ในการพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจ

  1. บูรณาการการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้วยวิชาการวิชาชีพในการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น
  2. ผลิตบัณฑิตและผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีความรู้ ทักษะความสามารถในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ
  3. บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสตามหลัก     ธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์ | ค่านิยมหลัก | วัฒนธรรมองค์กร

เป้าประสงค์

  1. ประชาชนท้องถิ่นได้รับการยกระดับให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
  2. บัณฑิตและผู้เรียนทุกช่วงวัยมีคุณภาพ มีคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
  3. คณะมีการบริหารจัดการที่ทันสมัยตามหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยมหลัก

คือ   “HAPPY”

H:  Human Resource ทรัพยากรมนุษย์ที่ดี
A: Activeness ความกระตือรือร้น
P:  Participation ร่วมแรงร่วมใจ
P:  Practitioner นักปฏิบัติ
Y:  Yield ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ

วัฒนธรรมองค์กร

เคารพอาวุโส  ตรงต่อเวลา  ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

IMG_3138

เอกลักษณ์ | อัตลักษณ์ | ประเด็นยุทธศาสตร์คณะ

เอกลักษณ์

“บัณฑิตจิตบริการ”

นิยาม:

บัณฑิต นักศึกษา มีความสามารถในการให้บริการเพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยความประทับใจ

ประเด็นยุทธศาสตร์คณะ

  1. การพัฒนาท้องถิ่นด้วยการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์คณะวิทยาการจัดการ
  2. การยกระดับการผลิตบัณฑิตและผู้เรียนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพ และมีคุณธรรม
  3. การพัฒนาการบริหารจัดการคณะให้ทันสมัยอย่างมีธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์

“บัณฑิตจิตอาสา สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาท้องถิ่น”

นิยาม: 

  1. มีจิตอาสา หมายถึง มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เสนอตัว เต็มใจ ตั้งใจเสียสละสิ่งที่ตนเองมีทั้งแรงกาย เวลา ทรัพย์สิน เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยไม่หวังผลตอบแทน
  2. สร้างสรรค์ปัญญา หมายถึง การเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน สะสม และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถของตน และแสดงออกผ่านผลงานการ เขียน การวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น การพูด การแสดงในเวทีวิชาการต่างๆ รวมถึงริเริ่มโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
  3. พัฒนาท้องถิ่น หมายถึง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างโอกาสหรือส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ชุมชน สังคมให้ดีขึ้น

นโยบายคณะวิทยาการจัดการ

ได้กําหนดนโยบายที่สอดคล้องกับพันธกิจหลัก 4 ด้าน [ ดาวโหลด PDF ]

นโยบายที่ 1 ด้านการผลิตบัณฑิต

  1. พัฒนาการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยที่เป็นประเภท ข (เน้นการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี)
    มาตรการ
    (1) ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)
  2. การเรียนการสอน
    2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
    2.2 สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมทักษะให้นักศึกษาครบทุกด้าน
    2.3 สนับสนุนให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์จริง
    2.4 สนับสนุนให้อาจารย์มีการบูรณาการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการหรืองานวิจัย
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนการจัดการความรู้
    (2) กําหนดแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
    (3) การจัดกิจกรรมเสริมทักษะวิชาชีพให้นักศึกษาทุกหลักสูตร
    (4) การฝึกภาคสนาม (สหกิจศึกษาหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ)
    (5) จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้มีการบูรณาการร่วมกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น
    (6) สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับนักศึกษา เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
    คิดเป็น และมีคุณธรรม
  3. นักศึกษา
    3.1 พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ทางด้านทักษะภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    3.2 ส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และกิจกรรมที่ให้นักศึกษา
    มีคุณธรรมและจริยธรรม
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนกิจการนักศึกษา
    (2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    (3) จัดกิจกรรมการพัฒนา ด้านบุคลิกภาพ คุณธรรมและจริยธรรม ด้านวิชาการ ด้านกีฬา ด้านบําเพ็ญประโยชน์ และด้านศิลปะและวัฒนธรรม

นโยบายที่ 2 ด้านการพัฒนาบุคลากร

  1. การพัฒนาบุคลากรสายสอนและสนับสนุน
    1.1 พัฒนาบุคลากรสายสอนให้มีตําแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
    1.2 พัฒนาคุณวุฒิทางการศึกษาบุคลากรสายสอนและสนับสนุนให้สูงขึ้น
    1.3 พัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศทั้งบุคลากรสายสอนและสนับสนุน
    1.4 พัฒนาทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานบุคลากรสายสอนและสนับสนุน
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนพัฒนาบุคลากร
    (2) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรสายสอนและสนับสนุนเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ศึกษา ดูงานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ําเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพ
    (3) กําหนดให้บุคลากรสายสอนทําผลงาน เพื่อเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
    (4) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรสายสอนและสนับสนุนศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
    (5) พัฒนาระบบงาน คู่มือปฏิบัติงาน รวมถึงวางแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากรสายสนับสนุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทํางาน

นโยบายที่ 3 ด้านงานวิจัย

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรท างานการวิจัย
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนการวิจัย
    (2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทําการวิจัย เพื่อนําองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ ทั้งการประยุกต์ใช้ในการทํางาน การเรียนการสอน และชุมชนท้องถิ่น
    (3) ส่งเสริมให้บุคลากรเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งเงินทุนภายในและภายนอก
    (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน

นโยบายที่ 4 ด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนบริการวิชาการ และคู่มือการให้บริการวิชาการ
    (2) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการระหว่างหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และซุนชนท้องถิ่น
    (3) สนับสนุนบุคลากรให้บริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนหรือการวิจัย

นโยบายที่ 5 ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

  1. มุ่งปลูกจิตส านึกและสร้างความตระหนักในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
    (2) จัดกิจกรรมที่ปลูกจิตสํานึกให้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนขนบธรรมเนียม
    ประเพณี และวัฒนธรรม
    (3) ส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก โดยเข้าร่วมกิจกรรมตามเทศกาลและวันสําคัญต่างๆ
    (4) สนับสนุนให้มีการบูรณาการเรียนการสอนกับการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

นโยบายที่ 6 ด้านการบริหารและการจัดการ

  1. พัฒนาระบบการบริหารการจัดการประสิทธิภาพ
    มาตรการ
    (1) พัฒนาระบบการบริหารการจัดการ
    (2) จัดทํา/พัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการ
    (3) จัดทําแผนบริหารความเสี่ยง
    (4) จัดทําแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
    (5) จัดทําบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาคณะฯ ระหว่างคณะฯ กับบุคลากร
    สายสอนและสนับสนุน
  2. ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ
    มาตรการ
    (1) บุคลากรสามารถตรวจสอบการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารคณะได้
    (2) กระจายอํานาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การบริหารงาน จากคณบดี ไปยังบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการบริหาร และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    (3) การบริหารจัดการภายใต้วัฒนธรรมองค์กร การใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
    (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ในการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกิจ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    (5) ส่งเสริมและวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด เช่น การใช้ห้องเรียน ห้องประชุม การใช้พลังงาน การใช้ยานพาหนะ การใช้วัสดุสํานักงาน เป็นต้น

นโยบายที่ 7 ด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

  1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรภายในคณะ
    มาตรการ
    (1) จัดทําแผนงานการประกันคุณภาพ
    (2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกันคุณภาพการศึกษา
    (3) พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
    (4) กําหนดให้มีการจัดทํารายงานการประเมินตนเอง (SAR) ในระดับโปรแกรม
    (5) กําหนดให้การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ

โครงสร้างหน่วยงาน

โครงสร้างคณะกรรมการประจำคณะ

โครงสร้างผู้บริหารคณะ

โครงสร้างคณะกรรมการบริหารคณะ

โครงสร้างสำนักงานคณบดี

สัญลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการ

สีประจำคณะวิทยาการจัดการ : ชมพู

สัญลักษณ์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

ใบเรือ มีลักษณะเป็นดอกบัวตูม ซึ่งกำลังจะเบ่งบาน ให้ความหมายด้านสติปัญญา ที่สามารถเรียนรู้แล้วค่อยๆ เจริญสติขึ้นมา จนเป็นผู้มีปัญญา โดยมีสีแสดอมชมพูเข้ม ซึ่งแทนความหมายสี ดังนี้

สีแสด             แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สีชมพูเข้ม         แทนคณะวิทยาการจัดการ

ลำเรือ มีสีเหลืองทอง ล่องผ่านน้ำ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง และความสำเร็จ เป็นเรือที่ล่องไปอย่างราบรื่น ไร้อุปสรรคใดๆ

วงกลม โดยรอบสัญลักษณ์ มีสีที่สื่อแทนหลักสูตร ดังนี้

สีชมพู             แทนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

สีฟ้าเทา          แทนหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

สีน้ำตาลทอง     แทนหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต

สีชมพูบานเย็น   แทนหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

สีแสด             แทนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

ความหมายโดยรวม คือ เรือแห่งผู้เจริญสติปัญญา โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกหลักสูตร เพื่อให้คณะวิทยาการจัดการสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย และประสบความสำเร็จได้